วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558


สรุปบทความ







บทความเรื่อง :  สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
ผู้แต่ง :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  บุบผา  เรืองรอง

         การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก  หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเงได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
การจัดกิจกรรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทด ลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็กเข้าไปหาแม่เหล็ก ดังนั้น เรื่องแรงแม่เหล็ก จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐม วัย ประกอบกับคนเราได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่หลักสูตรการ ศึกษาปฐมวัยได้กำหนดให้เด็กเรียนรู้ จากสาระการเรียนรู้เรื่องสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัว




วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 18 สิงหาคม 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่  2



The knowledge gained    

พัฒนาการทางสติปัญญา  cognitive  development  
ความหมาย  ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ ทางภาษา และการคิดของแต่ละบุคคล

กระบวนการปฎิสัมพันธ์   interaction   ประกอบด้วย 2 กระบวนการ

1.กระบวนการดูดซึม  (  assimilation  )
         -  fitting  a  new  experience  into an exising mental structure

             เมื่อมนุษย์มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ให้เข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา ( cognitive  structure )  โดยจะเป็นการตีความ หรือ การรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม

2. กระบวนการปรับโครงสร้าง  ( accommodation )


ทฤษฎีทางด้านการรู้คิด ของเพียเจท์


1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

-ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้



skills

ให้เขียนความหมายของคำว่าพัฒนาการทางสติปัญญามา 1 ประโยค

Adoption

การนำความรู้ที่ได้รับรวมทั้งวิธีการสอนไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไป


Teachniques

  1. การบรรยาย
  2. การใช้คำถาม
  3. การระดมความคิดเห็น

Assessment


ตัวเอง : เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อย ตังใจเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น

เพื่อน :  เข้าเรียนตรงเวลา  และร่วมกันแสดงความคิดเห็น

ผู้สอน : เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน 



ห้องเรียน :  อุปกรณ์ต่างๆใช้งานได้ดี  ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย















บันทึกอนุทินครั้งที่1 วันอังคาร ที่11 สิงหาคม 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่  1




The knowledge gained     



  1. อาจารย์ชี้แจงแนวปฎิบัติตามแนวการสอน
  2. อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางในการปฎิบัติตามแนวการสอน  ข้อตกลงในการเรียน การสอน  


skills


แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่า   
  1. วิทยาศาสตร์  science
  2. คณิตศาสตร์  mathematics
  3. สติปัญญา    intelligence               

Adoption

การนำความรู้ที่ได้รับรวมทั้งวิธีการสอนไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไป


Teachniques

  1. การบรรยาย
  2. การใช้คำถาม
  3. การระดมความคิดเห็น

Assessment


ตัวเอง : แต่งตัวเรียบร้อย ตังใจเรียน และร่วมแสดงความคิดเห็น

เพื่อน :  เข้าเรียนตรงเวลา  และร่วมกันแสดงความคิดเห็น

ผู้สอน : เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  

ห้องเรียน :  อุปกรณ์ต่างๆใช้งานได้ดี  ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย