วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่  10

                                                                     วันอังคารที่ 27  ตุลาคม  2558


นำเสนอ บทความ

นางสาวสุทธิการต์ กางพาพันธ์ 
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?
  - กิจกรรมนี้ทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้สำหรับกิจกรรมที่จัดทำจังหวัดสงขลานี้ มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย

  -กิจกรรม หวานเย็นชื่นใจเด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
     -กิจกรรม ความลับของดินเด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย
  - กิจกรรม ถึงร้อนก็อร่อยได้ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงสว่างของโลก พื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้ได้ต่างกัน ซึ่งจะพบจากการสัมผัสแผ่นกระเบื้องสีดำและสีขาว ที่วางไว้กลางแจ้ง เมื่อเด็ก ๆ ขึ้นไปเหยียบบนแผ่นกระเบื้องสีดำ จะรู้สึกร้อนกว่าเพราะสีดำดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้มากกว่า จึงถ่ายโอนความร้อนมายังเท้าของเรามากกว่า

นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์ 
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง
         จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น
พ่อครู แม่ครูร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิด
เห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญ
คือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน






Assessment

 
classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน

friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน

teacher


เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเข้าใจง่าย









สรุปโทรทัศน์ครู วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558



สรุปโทรทัศน์ครู



เรื่อง สอนวิทย์กับเด็กประถมวัย
กรรณิการ์ เฉิน


           นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ


เป็นการสอนเพื่อปลูกฝังให้ฝึกเด็กรักการเรียนวิทยาศาสตร์โดยเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้ฝึกสมาธิและความคุมประสาทสัมผัสผ่านกิจกรรมต่างๆ

สรุปวิจัย วันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้
Basic Science Process Skills of Early Childhood Received from Using Project Approach and Inquiry Methods


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็ก
ปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น
พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 3) ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบ
สืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2556 จํานวน 50 คน จาก 15 โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (two stage sampling)
คือ ขั้นที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15 โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จํานวนเด็กปฐมวัย 22 คน ขั้นที่ 2
สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น เป็นกลุ่มที่1
ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการ
ทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
โครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ไม่แตกต่างกัน

สรุปผลการวิจัย
จากการทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดย ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และ แบบสืบเสาะหาความรู้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ ไม่ แตกต่างกัน

บันทึกอนุทินครั้้งที่ 9 วันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่9

วันอังคารที่  13  ตุลาคม  2558


ทำกิจกรรมกลุ่มเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย

หน่วยที่ 1  : ตัวเด็ก

หน่วยที่ 2  : เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

หน่วยที่ 3 : บุคคลเเละสานที่

หน่วยที่ 4  : ธรรมชาติรอบตัว


นำเสนอ โทรทัศน์ครู


นางสาววัชรี วงศ์สะอาด
เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
จากข่าว  Family News Today

          ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน


นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านวิทยาศาสตร์น้อย

            บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตเเละคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกอยู่ในทุกๆวัน ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ โดยในทุกกิจกรรมจะมีคุณครูเป็นผู้ค่อยเสริมประสบการณ์ค่อยถามเด็กอยูู่เป็นระยะเพื่อให้เด็กได้คิดวิเคาระห์เเละสังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย, ลอยนํ้าได้อย่างไร

หลอดดำนํ้า, จมหรือลอย, การกรองนํ้า, ฟองมหัศจรรย์, ไหลเเรงไหลค่อย เป็นต้น



Assessment


classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน

friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน

teacher

เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเข้าใจง่าย


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 วันอังคารที่29 กันยายน 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่  8 



***ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค ของมหลาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม***



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7 วันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
 วันอังคารที่ 22  กันยายน  2558



นำเสนอของเล่นวิยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้



ประดิษฐ์ “เครื่องบินลมมหาสนุก”
อุปกรณ์
1.หลอดดูดน้ำ                                                            
2.กระดาษแข็งตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.กระดาษเปล่า
4.สี
5.เทปใส
6.กรรไกร
7.อุปกรณ์ในการตกแต่ง
วิธีทำ





1.นำกระดาษเปล่ามาห่อหลอดดูดน้ำ ถ้ากระดาษแผ่นใหญ่เกินไปให้ตัดส่วนที่เกินออก

2.ใช้เทปกาวติดกระดาษที่พันหลอดให้แน่นจากนั้นพับปลายด้านหนึ่งเข้ามาแล้วติดด้วยเทปกาวส่วนปลายอีกด้านหนึ่งให้ตัดกระดาษออกเหลือแต่หลอด
3.ตัดกระดาษแข็งสี่เหลี่ยมให้เป็นปีกเครื่องบิน
4.ตกแต่งปีกเครื่องบิน ให้สวยงาม
5. นำปีกเครื่องบินมาติดเทปใส ก็จะได้เครื่องบินอันสวยงาม

วิธีการเล่น  ก็จะเป่าลมผ่านหลอดดูดน้ำ  เพื่อให้เครื่องบินลอย แต่จะมีระยะไกลหรือใกล้ขึ้นอยู่กับแรงลมที่เป่า




Assessment

  
classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน


friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน


teacher

เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเข้าใจง่าย







บันทึกอนุทินครั้งที่ 6 วันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

บันทึกอนุทิน

วันอังคารที่ 15  กันยายน  2558


ทดสอบก่อนเรียน  เรื่องการทำงานของสมอง

สมองแบ่งได้เป็น 3 ส่วน


สมองส่วนหน้า

 1.  การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ( ความรู้ ) ความจำ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา 2.  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆ และรับรู้ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย  เช่น  ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ศูนย์ควบคุมการรับสัมผัสต่างๆ  ศูนย์ควบคุมการพูด การรับรู้ภาษา  ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่น

สองส่วนกลาง

มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา  ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ และควบคุมการปิดเปิดของม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย

สมองส่วนหลัง

    มีหน้าที่สำคัญ  คือ
         -  ควบคุมและประสานงานของการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น  สละสลวย  และเที่ยง                ตรง  สามารถทำงานที่ต้องการความละเอียดอ่อนได้
         -  ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
         -  ควบคุมการเคี้ยว  การหลั่งน้ำลาย  การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า
         -  ควบคุมการหายใจ





Assessment

  
classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน


friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน


teacher

เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเข้าใจง่าย






วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5 วันอังคารที่ 8 กันยายน 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



วันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

หลักในการเลือกเรื่อง

       หัวข้อที่จะเลือกจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กนั้น  มีหลักในการเลือกใช้ดังนี้

1.เลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก

2.เลือกสิ่งที่เด็กสนใจ
3.เลือกสิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก



 -เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก คือ สถานการณ์หรือสิ่งของที่เด็กพบ หรือสัมผัสเป็นประจำหรือการดำรงชีวิตประจำวัน
 -เรื่องที่เด็กสนใจ คือ ความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลองเพื่อหาคำตอบ
 -เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก คือ สิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา




เรือกระดาษ




ชื่อ เรือกระดาษ
พับกระดาษเป็นรูปคล้ายเรือ 
วิธีการเล่น
ให้เด็กๆ นำเรือกระดาษไปทดลองเล่นดู
แนวคิด
การที่วัตถุจะเครื่องที่ไปข้างหน้าได้จะต้องให้เเรงขับ โดยแรงที่ได้ คือ แรงลม แรงดันน้ำ เป็นตัน

เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  
1.การลอยตัวในน้ำ
2.การทรงตัว
3.ทิศทางของน้ำ






***หมายเหตุ  ศึกษางานจาก  นางสาวเวรุวรรณ  ชูกลิ่น  ***

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4วันอังคาร ที่ 1 กันยายน 2558




   บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันอังคาร  ที่  1 กันยายน  2558


  ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากคณะศึกษาศาสตร์ จัดงานศึกษาวิชาการ


Knowledge

    
ศตวรรษที่ 21  ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3และ 4C
ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
     3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่


Teaching Methods

     วิทยากรมีการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิด  มีการใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย


Assessment

   -classroom
 ลานอเนกประสงค์ อาคาร  28  มีการจัดที่นั่งสำหรับการฟังการอบรมอย่างเพียงพอต่อผู้เข้าร่วม 

   -Self  
ตั้งใจฟังวิทยากรบรรยายและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

   -Friend
  เข้าร่วมกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังการบรรยาย

   -Professor
  อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  และแนะนำกิจกรรมต่างๆที่คณะศึกษาศาสตร์จัดขึ้น




















บันทึกครั้งที่ 3 วันอังคารทึ่ 25 สิงหาคม 2558

  

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันอังคารทึ่  25  สิงหาคม  2558


Knowledge.

-เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ ไปศึกษาค้นคว้าจากหนังสือที่ห้องสมุด เกี่ยวกับเรื่อง แสง
-เรื่อง แสง
-ความคิดรวบยอด
-เราจะมองอะไรไม่เห็นถ้าไม่มีแสง
-แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
-เงาเกิดขึ้นเมื่อลำแสงถูกบัง
-กลางคืนคือเงาของโลก
-ทุกสิ่งที่เราเห็นมีการสะท้อนของแสงออกมา
-ในแสงประกอบด้วยสีหลายสี
-ลำแสงทีหักเหทำให้เป็นรูปร่างของวัตถุต่างไปจากเดิม

   Skills.
 การสืบค้นข้อมูล  การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล   การลงความเห็น


   Teaching Methods.
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 



   Assessment.

   classroom
ห้องสมุดสะอาดเรียบร้อย มีหนังสือหลายประเภท  จัดหมวดหมู่หนังสือไว้อย่างชัดเจนและง่ายต่อการค้นหา

   Self
แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน  ร่วงแสดงความคิดเห็นกับเพื่อน

   Friend
เข้าเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบในการทำงานและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

   Professor 

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเนื้อหาและชี้แจงการทำงานให้นักศึกษาเข้าใจด้วยภาษาที่ชัดเจน