วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนรู้ วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน 2558



สรุปการเรียนรู้



รายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ 


ทักษะ
      

1. ทักษะด้านเทคโนโลยี 
การจัดทำบันทึกอนุทิน โดยใช้www.blogger.com
การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยใช้โปรแกรม Microsoft  Powerpiont
การสืบค้นขอมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเรียนการสอน


2. ทักษะด้านความคิด
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล 
การสื่อสาร  การสื่อความหมาย 
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ 
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
การวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการสรุปผล ข้อมูล
การตั้งปัญหา  การตั้งสมมติฐาน  การทดลอง  การสรุปผล


3. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้
รับผิดชอบต่อนส่วนรวมและตนเอง
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

4. ทักษะการจัดการเรียนรู้
การนำเข้าสู่บทเรียน , กิจกรรมเพื่อเป็นการเร้าความสนใจและสร้างความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่
การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และครอบคลุมเนื้อหา
การสร้างแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

        






เทคนิคการอธิบาย
   1.เวลาที่ใช้ในการอธิบายไม่นานเกินควร
   2.ภาษาที่ใช้ง่ายแก่การเข้าใจ
   3.สื่อการสอน หรือตัวอย่างน่าสนใจ
   4.ครอบครุมใจความสำคัญได้ครบถ้วน
   5.การอธิบายเริ่มจากเรื่องที่เข้าใจง่ายไปหาเรื่องยาก
   6.ท่าทางในการอธิบายน่าสนใจ
   7..มีการสรุปผลการอธิบายด้วย

เทคนิคการเร้าความสนใจ
   1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน เช่น การมอง การยิ้ม 
   2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง ถ้อยคำที่ครูใช้และน้ำเสียงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน ควรมีการ       เน้นหนักเบาในคำพูด
   3.การเน้นจุดสำคัญของเรื่องและการเว้นระยะการพูดหรืออธิบายครูควรฝึกเน้นคำพูด สำเนียง จังหวะ

เทคนิคการใช้คำถาม
  1. ถามด้วยความมั่นใจ
  2. ถามอย่างกลมกลืน
  3. ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
  4. ให้นักเรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
  5. การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ
  6. ใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
  7. การใช้กิรกยา ท่าทาง เสียงในการประกอบการถาม
  8. การใช้คำถามรุกหมายถึง การใช้คำถามต่อเนื่อง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กปฐมวัย


 ทักษะการสังเกต 
 ทักษะการจำแนกประเภท 
 ทักษะการวัด
 ทักษะการสื่อความหมาย
 ทักษะการลงความเห็น
 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
 และทักษะการคำนวณ





การศึกษานอกห้องเรียน



การศึกษานอกห้องเรียน









สเปกตรัม
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม


สีเป็นปรากฏการณ์ของการรับรู้เกี่ยวกับการมองเห็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่นการรับรู้ว่าดอกกุหลาบเป็นสีแดง ใบไม้เป็นสีเขียว เป็นต้น และจากคำนิยามว่าสีเป็นการรับรู้ ดังนั้นจึงไม่มีตัวตนอยู่เป็นสสารในทางฟิสิกส์ คือไม่เป็นของแข็ง ของเหลว และกาซ สีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ประการคือ แสง และผู้สังเกต ลองนึกดูว่า ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องที่ไม่มีแสงใดๆ เลย เราก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุและสีใดๆ ได้ และหากเราเดินเข้าไปในห้องที่สว่างไสวแต่ปิดตาเสีย เราก็จะไม่เห็นสีใดๆ ได้เช่นกัน การรับรู้สีเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีแสงเดินทางเข้าไปสู่ตา โดยตาของมนุษย์จะทำหน้าที่เป็นส่วนรับแสงและส่งสัญญานไปยังสมองเพื่อแปลสัญญานดังกล่าวเป็นการรับรู้สีต่าง ๆ
      ภายในตาจะมีส่วนที่เรียกว่าเรตินามีหน้าที่รับแสง และเปลี่ยนแสงเป็นกระแสประสาท โดยมีเซลล์รับแสงอยู่สองประเภทคือเซลล์รับแสงรูปแท่งและเซลล์รับแสงรูปกรวย เซลล์รับแสงรูปแท่งจะทำงานเมื่อแสงน้อย ส่วนเซลล์รับแสงรูปกรวยจะทำงานเมื่อมีแสงมากและเป็นเซลล์ที่ทำให้เกิดการรับรู้สี โดยแสงเซลล์รับแสงรูปกรวยมี 3 ชนิด คือเซลล์ที่ไวต่อแสงสีแดง (เรียกว่า L ) สีเขียว (เรียกว่า M) และสีน้ำเงิน (เรียกว่า S) เมื่อได้รับแสง เซลล์รับแสงทั้งสามจะถูกกระตุ้นในอัตราส่วนที่ต่างกันขึ้นกับสีและความเข้าของแสงที่ตกกระทบ และสมองก็จะแปลสัญญาณที่แตกต่างกันนั้นเป็นสีต่างๆ อีกที


การหักเหของแสง (Refraction) เป็นปรากฏการณ์การที่แสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งโดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ที่แตกต่างจากทิศทางการเคลื่อนที่เดิม โดยการหักเหของแสงจะเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้ง 2 ชนิด
เมื่อแสงเคลื่อนที่่ผ่านตัวกลางสองชนิดที่มีลักษณะโปร่งแสง เช่น อากาศ แก้ว น้ำ น้ำแข็ง และเพชร จะเกิดปรากฏการณ์การสะท้อนและการหักเหขึ้นพร้อมกัน โดยแสงส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่เข้าไปในตัวกลางอีกตัวกลางหนึ่งและเกิดการหักเหขึ้น ทำให้แสงเคลื่อนที่เบนออกจากแนวการเคลื่อนที่เดิม ในขณะที่แสงส่วนที่เหลือจะเกิดการสะท้อนทำให้แสงเคลื่อนที่ย้อนกลับไปในตัวกลางเดิม
ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการค้นพบตัวกลางใดที่สามารถสะท้อนแสงได้ 100 เปอร์เซนต์ กระจกเป็นตัวกลางหนึ่งที่สามารถสะท้อนแสงได้ดี โดยกระจกที่ดีนั้นจะสามารถสะท้อนแสงได้สูงประมาณ 90 เปอร์เซนต์ของแสงที่เข้ามาตกกระทบ ซึ่งทำให้สามารถเกิดภาพสะท้อนที่ชัดเจน การสะท้อนของแสงกลับไปกลับมาผ่านกระจก 2 แผ่นที่วางขนานกัน จะพบว่า ยิ่งแสงมีการสะท้อนกลับไปกลับมาเป็นจำนวนมากเท่าไร ภาพที่เกิดขึ้นจะมีความสว่างน้อยลงเท่านั้น นั่นคือ ภาพของแก้วที่ปรากฏอยู่ด้านหลังจะสว่างน้อยกว่า (มืดมากกว่า) ภาพของแก้วที่ปรากฏอยู่ด้านหน้า
การสะท้อนของแสง (Reflection) เป็นปรากฏการณ์ที่แสงมีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ที่บริเวณรอยต่อของตัวกลาง 2 ชนิด โดยแสงจะเคลื่อนที่ย้อนกลับไปในตัวกลางเดิม































บันทึกอนุทินครั้งที่15 วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558



knowledge

เพื่อนนำเสนอบทความ

นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4
เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ วิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย  เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทาง
วิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้



นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่ 3

บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
 

นำเสนองานวิจัย  ในชั้นเรียน

นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2
ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้


สมมติฐาน

       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง



กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน

ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที


วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.เก็บรวบรวมข้อมูล

4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  
                                                                                                               
 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา

 2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย


ผลการวิจัย


       จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการ

วิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการ

ทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะ

สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น



นางสาว  จงรักษ์  หลาวเหล็ก   เลขที่ 1

วิจัยเรื่อง         วิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

     
ความมุ่งหมาย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ขอบเขตของการวิจัย

    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน


ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์




นำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8
เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์
เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน
-ให้เด็กสังเกตไข่  มีไข่ให้ 2 ใบ ถ้าโยนลงพื้นจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อโยนเเล้วไม่รับปรากฎว่า ไข่ไม่เเตก   เพราะไข่ที่โยนเป็นไข่ต้ม
-น้ำมัน   เอาน้ำมันมาทาเปรียบเทียบใส่กระดาษ  ระหว่างน้ำมันพืชเเล้วน้ำมันหมู
ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง


 Apply

-นำบทความหรืองานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอนำไปเป็นแนวทางที่เราจะนำไปจัดกิจกรรม



technique  


-การใช้คำถาม 



Assessment

  
classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน


friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน


teacher
เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  







บันทึกอนุทินครังที่ 14 วันอังคารที่ 17พฤศจิกายน 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 17พฤศจิกายน 2558


Knowledge

ขนมโค ขั้นตอนการทำ
1.  ตักแป้งใส่ถ้วย 3 ช้อนโต้ะ
2   เทสีผสมอาหาร คลุกเคล้าให้เข้ากัน(ไม่ให้แป้งเละเกินไป)
3.  ปั้นเเป้งและใส่ไส้ (โดยมีให้เลือกสองแบบ คือ ใส้หวาน และ ใส้เค็ม )
4.  เมื่อใส้ไส้เสร็จก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ
5.  ใส่ลงไปในหม้อที่น้ำเดือดๆ เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเเป้งก็จะลอยขึ้นมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าขนมสุกเเล้ว จากนั้นเราก็นำ             
 ขนมมาคลุกกับมะพร้าว

หวานเย็น ขั้นตอนการทำ
1.  ตักน้ำแข็งใส่กาละมั้งพลาสติกประมาณ1/3 ของกาละมัง
2.  ผสมเกลือลงไป
3.  คนน้ำแข็งและเกลือให้เข้ากัน
4.  นำถ้วยสแตนเลสใบเล็กใส่ลงไปในกาละมังพลาสติกที่ผสมน้ำแข้งและเกลือเรียบร้อยแล้ว
5.  ผสมน้ำหวานและน้ำเปล่าให้ได้ความหวานที่ต้องการ
6.  เทน้ำหวานลงในถ้วยสแตนเลส แล้วคนจนน้ำหวานเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ข้าวจี่ ขั้นตอนการ
1.  นำข้าวเหนี่ยวมาใส่ไส้จากนั้นก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆเเล้วใช้ไม้ตะเกียบเสียบ
2.  จากนั้นนำไปย่างบนเตาเมื่อสีข้าวเริ่มเปลี่ยน ก็นำไปชุปกับไข่เเล้วนำมาย่างอีกทีเพื่อให้

ไข่สุก
กระบวนการมางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากกิจกรรมวันนี้
1.  กำหนดปัญหา
2.  สมมติฐาน
3.  การทดลอง
4.  สรุปผล








technique
 - เด็กรู้จักการสังเกต
- เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง
- เด็กได้เเก้ปัญหาด้วยตนเอง


Assessment

 
classroom
ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self
มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน

friend
แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน

teacher

เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเข้าใจง่าย





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 10 พฤศจิกายน 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
 
 วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558


Knowledge 


วิธีทำ วาฟเฟิล

1.นำไข่ไก่ น้ำและแป้งสำเร็จรูปใส่ภาชนะมาผสมแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2.หยอดแป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเนยและร้อนดีแล้วจนเต็มพิมพ์
3.อบประมาณ 3-4 นาที แล้วนำใส่จาน
4.ตกแต่งได้ตามใจชอบ

วิธีทำทาโกะยากิ
1.ตักข้าว 3 ช้อน
2.ผสมไข่ไก่ 1 ฟองตีให้เข้ากัน
3.ใส่ปูอัด  ต้นหอม และซอสปรุงรส
4.นำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ในเตา

จาการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์
1.การสังเกต
2.การวัด
3.การจำแนก
4.การสื่อความหมาย

5.การลงความคิดเห็นจากข้อมูล

















assessment

classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน


friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน


teacher

เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเข้าใจง่าย