วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15 วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558



knowledge

เพื่อนนำเสนอบทความ

นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4
เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ วิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย  เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทาง
วิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้



นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่ 3

บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
 

นำเสนองานวิจัย  ในชั้นเรียน

นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2
ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้


สมมติฐาน

       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง



กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน

ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที


วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.เก็บรวบรวมข้อมูล

4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  
                                                                                                               
 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา

 2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย


ผลการวิจัย


       จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการ

วิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการ

ทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะ

สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น



นางสาว  จงรักษ์  หลาวเหล็ก   เลขที่ 1

วิจัยเรื่อง         วิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

     
ความมุ่งหมาย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ขอบเขตของการวิจัย

    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน


ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์




นำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8
เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์
เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน
-ให้เด็กสังเกตไข่  มีไข่ให้ 2 ใบ ถ้าโยนลงพื้นจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อโยนเเล้วไม่รับปรากฎว่า ไข่ไม่เเตก   เพราะไข่ที่โยนเป็นไข่ต้ม
-น้ำมัน   เอาน้ำมันมาทาเปรียบเทียบใส่กระดาษ  ระหว่างน้ำมันพืชเเล้วน้ำมันหมู
ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง


 Apply

-นำบทความหรืองานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอนำไปเป็นแนวทางที่เราจะนำไปจัดกิจกรรม



technique  


-การใช้คำถาม 



Assessment

  
classroom

ห้องเรียนสะอาด  อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

self

มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน


friend

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน


teacher
เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น