การศึกษานอกห้องเรียน
สเปกตรัม
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว
ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ
7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม
สีเป็นปรากฏการณ์ของการรับรู้เกี่ยวกับการมองเห็นอย่างหนึ่งของมนุษย์
เช่นการรับรู้ว่าดอกกุหลาบเป็นสีแดง ใบไม้เป็นสีเขียว เป็นต้น
และจากคำนิยามว่าสีเป็นการรับรู้ ดังนั้นจึงไม่มีตัวตนอยู่เป็นสสารในทางฟิสิกส์
คือไม่เป็นของแข็ง ของเหลว และกาซ สีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ประการคือ
แสง และผู้สังเกต ลองนึกดูว่า ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องที่ไม่มีแสงใดๆ เลย
เราก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุและสีใดๆ ได้
และหากเราเดินเข้าไปในห้องที่สว่างไสวแต่ปิดตาเสีย เราก็จะไม่เห็นสีใดๆ ได้เช่นกัน
การรับรู้สีเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีแสงเดินทางเข้าไปสู่ตา
โดยตาของมนุษย์จะทำหน้าที่เป็นส่วนรับแสงและส่งสัญญานไปยังสมองเพื่อแปลสัญญานดังกล่าวเป็นการรับรู้สีต่าง
ๆ
ภายในตาจะมีส่วนที่เรียกว่าเรตินามีหน้าที่รับแสง
และเปลี่ยนแสงเป็นกระแสประสาท
โดยมีเซลล์รับแสงอยู่สองประเภทคือเซลล์รับแสงรูปแท่งและเซลล์รับแสงรูปกรวย
เซลล์รับแสงรูปแท่งจะทำงานเมื่อแสงน้อย ส่วนเซลล์รับแสงรูปกรวยจะทำงานเมื่อมีแสงมากและเป็นเซลล์ที่ทำให้เกิดการรับรู้สี
โดยแสงเซลล์รับแสงรูปกรวยมี 3 ชนิด
คือเซลล์ที่ไวต่อแสงสีแดง (เรียกว่า L
) สีเขียว (เรียกว่า M) และสีน้ำเงิน (เรียกว่า S) เมื่อได้รับแสง
เซลล์รับแสงทั้งสามจะถูกกระตุ้นในอัตราส่วนที่ต่างกันขึ้นกับสีและความเข้าของแสงที่ตกกระทบ
และสมองก็จะแปลสัญญาณที่แตกต่างกันนั้นเป็นสีต่างๆ อีกที
การหักเหของแสง
(Refraction) เป็นปรากฏการณ์การที่แสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งโดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ที่แตกต่างจากทิศทางการเคลื่อนที่เดิม
โดยการหักเหของแสงจะเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้ง 2 ชนิด
เมื่อแสงเคลื่อนที่่ผ่านตัวกลางสองชนิดที่มีลักษณะโปร่งแสง
เช่น อากาศ แก้ว น้ำ น้ำแข็ง และเพชร
จะเกิดปรากฏการณ์การสะท้อนและการหักเหขึ้นพร้อมกัน
โดยแสงส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่เข้าไปในตัวกลางอีกตัวกลางหนึ่งและเกิดการหักเหขึ้น
ทำให้แสงเคลื่อนที่เบนออกจากแนวการเคลื่อนที่เดิม
ในขณะที่แสงส่วนที่เหลือจะเกิดการสะท้อนทำให้แสงเคลื่อนที่ย้อนกลับไปในตัวกลางเดิม
ปัจจุบันนี้
ยังไม่มีการค้นพบตัวกลางใดที่สามารถสะท้อนแสงได้ 100 เปอร์เซนต์
กระจกเป็นตัวกลางหนึ่งที่สามารถสะท้อนแสงได้ดี
โดยกระจกที่ดีนั้นจะสามารถสะท้อนแสงได้สูงประมาณ 90 เปอร์เซนต์ของแสงที่เข้ามาตกกระทบ
ซึ่งทำให้สามารถเกิดภาพสะท้อนที่ชัดเจน การสะท้อนของแสงกลับไปกลับมาผ่านกระจก 2
แผ่นที่วางขนานกัน จะพบว่า
ยิ่งแสงมีการสะท้อนกลับไปกลับมาเป็นจำนวนมากเท่าไร
ภาพที่เกิดขึ้นจะมีความสว่างน้อยลงเท่านั้น นั่นคือ
ภาพของแก้วที่ปรากฏอยู่ด้านหลังจะสว่างน้อยกว่า (มืดมากกว่า) ภาพของแก้วที่ปรากฏอยู่ด้านหน้า
การสะท้อนของแสง
(Reflection) เป็นปรากฏการณ์ที่แสงมีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ที่บริเวณรอยต่อของตัวกลาง
2 ชนิด โดยแสงจะเคลื่อนที่ย้อนกลับไปในตัวกลางเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น